วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สำรวจปัญหาการเรียนการสอน






สรุปผลสำเร็จปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
      
จากการแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านดอนสัมพันธ์ เกิดผลสำเร็จจากการพัฒนาดังนี้
1.ช่วยให้นักเรียนรับรู้ แจ่มแจ้งชัดเจนขึ้น 
2.นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนมากขึ้นเพราะสื่อการเรียนการสอนจะเร้าความสนใจ ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในเรื่องที่เรียน และมีส่วนร่วมในการเรียน 
3.ช่วยประหยัดเวลาเรียน โดยใช้เวลาน้อยแต่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น 
4. ลดการบรรยายของผู้สอน แต่ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น 
5. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ และจดจำในสิ่งที่เรียนได้นาน 
6. ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น
7. สื่อที่ผลิตทำให้นักเรียนเกิดการอยากรู้อยากเห็น
8. ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิด 
9. ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ของผู้เรียนเพราะสื่อการเรียนการสอนสามารถเก็บและเสนอข้อมูลได้ตามที่ต้องการ 
10. ครูสามารถสอนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้กว้างมากขึ้น
11. ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีภายในชั้นเรียนทำให้ผู้เรียนมีสนุกสนานไปกับการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การประยุกต์การสอน IS กับขั้นตอนการสอนด้วยขั้นบันได

บันได 5 ขั้น สู่วิชา IS



กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับโรงเรียนชั้นนำที่มีความพร้อมให้เป็นโรงเรียนดีมีมาตรฐานสากล หรือที่เรียกกันว่า  World – Class  Standard School   เพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีของสังคมโลก โดยคาดหวังยกระดับการจัดการเรียน การสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล  ยกระดับการบริหารจัดการระบบคุณภาพ พร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน   ทั้งนี้โรงเรียนมาตรฐานสากลมุ่งสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพด้วยการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เป็นเป้าหมายในการยกระดับการจัดการศึกษาของทั้งโรงเรียน  การออกแบบหลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551  ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่กำหนด  มีการพัฒนาต่อยอดคุณลักษณะที่เทียบเคียงกับสากล  โดยโรงเรียนต้องพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความพร้อมและจุดเน้นที่มีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละโรงเรียน
บันได 5 ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล บูรณาการเป็นรายวิชาเพิ่มเติม คือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) มีดังนี้ (ชลิต สุริยะสกุลวงษ์. 2555 : 15)
IS 1 การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) มุ่งให้ผู้เรียนตั้งประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ฝึกทักษะการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การคิดวิเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ เป็นบันไดขั้นที่ 1 การตั้งประเด็นปัญหา และสมมุติฐาน (Hypothesis Formulation) ขั้นที่ 2 การแสวงหาเพื่อสืบค้นสารสนเทศ (Searching for Information) ขั้นที่ 3 การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formation)
IS 2 การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาพัฒนาวิธีการถ่ายทอด สื่อสารความหมาย แนวคิด ข้อมูล และองค์ความรู้ด้วยวิธีการนำเสนอที่เมาะสม หลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ เป็นบันไดขั้นที่ 4 การสื่อสาร และการนำเสนอ (Effective Communication)
IS 3 การนำองค์ความรู้ไปบริการสังคม (Social Service Activity) มุ่งให้ผู้เรียนนำ และประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ เป็นบันไดขั้นที่ 5 การบริการสังคม และจิตสาธารณะ (Public Service)
การที่จะจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้ที่แท้จริงต้องเข้าใจระบบการทำงานของสมอง (Wolfe. 2001 : 103-108) ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) ที่เน้นกลไกการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสร้างความรู้ (Fosnot. 1996 : 11) คือ เมื่อบุคคลปะทะสัมพันธ์กับประสบการณ์หนึ่งๆ ถ้าข้อมูลหรือประสบการณ์นั้นสัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่แล้วจะเกิดกระบวนการซึม เข้ากับโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม แต่ถ้าข้อมูล หรือประสบการณ์ไม่สัมพันธ์กับความรู้ หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่แล้วจะเกิดภาวะไม่สมดุลทำให้บุคคลพยายามเรียนรู้เพื่อปรับสมดุลทางปัญญาโดยการสร้าง โครงสร้างทางปัญญาขึ้นใหม่ เกิดเป็นความรู้ใหม่ของบุคคลนั้น

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองกับบันได 5 ขั้น
ที่มา : ฟาฎินา วงศ์เลขา. 2555 : 23.

ระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์

ระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์

ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels; & Glasgow. 1990) ได้เสนอการจัดระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการพิจารณาว่าเกิดปัญหาอะไรในการเรียนการสอนโดยผ่านการรวบรวมและเทคนิคการประเมินและระบุสิ่งที่เป็นปัญหา
2. วิเคราะห์การสอนและกิจกรรม (Task and Instructional Analysis) เป็นการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อกำหนดด้านเจตคติเพื่อกำหนดสิ่งที่ได้เรียนมาก่อน
3. การกำหนดวัตถุประสงค์และแบบทดสอบ (Objective and Tests) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและแบบทดสอบอิงเกณฑ์
4. กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategy) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์และองค์ประกอบด้านการเรียนการสอน
5. การตัดสินใจเลือกสื่อการสอน (Media Decision) เป็นการเลือกสื่อการเรียนการสอนและวิธีการใช้เพื่อทำให้การเรียนการสอนบรรลุผล
6. การพัฒนาการสอน (Materials Development) เป็นการวางแผนสำหรับผลผลิต การพัฒนาวัสดุ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการเรียนการสอน
7. การประเมินผลย่อยระหว่างเรียน (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน
8. การนำไปใช้และบำรุงรักษา (Implementation Maintenance) เป็นการนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
9. การประเมินผลรวมภายหลังการเรียน (Summative Evaluation) เป็นการพิจารณาประเมินผลว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
10. การเผยแพร่และขยายผล (Dissemination Diffusion) เป็นขั้นของการจัดการให้มีการเผยแพร่ ขยายผลนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์ แสดงดังภาพประกอบ 



ที่มา: http://jaidee95.blogspot.com/2011/05/blog-post_8429.html



รูบริคหรือรูบริคการให้คะแนน

รูบริคหรือรูบริคการให้คะแนน (Rubrics  or Scoring  Rubrics)


รูบริคหรือรูบริคการให้คะแนนคืออะไร
            รูบริค คือ เครื่องมือในการให้คะแนน  ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ด้านต่าง ๆ  ที่ใช้พิจารณาชิ้นงานหรือการปฏิบัติ เช่น การประเมินงานเขียนจะพิจารณาวัตถุประสงค์  องค์ประกอบ รายละเอียด  น้ำเสียงของการเขียน และกลวิธีการเขียน เป็นต้น อีกประการหนึ่ง คือ ระดับคุณภาพของเกณฑ์ แต่ละด้าน  ซึ่งมีตั้งแต่ระดับดีเยี่ยมจนถึงต้องปรับปรุง (Heidi Goodrich  Andrade,  1997)
            รูบริคการให้คะแนน คือ แนวทางการให้คะแนนอย่างละเอียด ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้สอนหรือผู้ประเมิน  เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ผลงานหรือกระบวนการที่เกิดจากความพยายามของนักเรียน (Barbara  M. Moskel, 2000)รูบริคเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales)  ที่ใช้ประเมินการปฏิบัติ  ซึ่งตรงกันข้ามกับแบบสำรวจรายการ (Checklists)  โดยปกติจะเรียกว่าแนวทางการให้คะแนน (Scoring guides)  ประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะ ใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียน  หรือประเมินผลผลิตซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติงาน (Craig  A Mertler, 2001)
            กล่าวโดยสรุปได้ว่า  รูบริคเป็นเครื่องมือให้คะแนนชนิดหนึ่ง  ใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานหรือผลงานของนักเรียน  รูบริคประกอบด้วย  2  ส่วน คือ เกณฑ์ที่ใช้ประเมินการปฏิบัติหรือผลผลิตของนักเรียน  และระดับคุณภาพหรือระดับคะแนน  เกณฑ์จะบอกผู้สอนหรือผู้ประเมินว่าการปฏิบัติงานหรือผลงานนั้น ๆ จะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง  ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนจะบอกว่า  การปฏิบัติหรือผลงานที่สมควรจะได้ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนนั้น ๆ ของเกณฑ์แต่ละตัวมีลักษณะอย่างไร  รูบริคจึงเป็นเหมือนการกำหนดลักษณะเฉพาะ (Specification)  ของการปฏิบัติหรือผลงานนั้น ๆ ในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ  หรือทั้ง  2 ประการรวมกัน  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ เป้าหมายของการประเมิน
ทำไมจึงต้องใช้รูบริค
การใช้รูบริคมีประโยชน์สำหรับครูและนักเรียนหลายประการ  ดังนี้
1.  รูบริคเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากทั้งในการเรียนการสอนและ การประเมินช่วยปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติหรือการแสดงออกของนักเรียน  ในขณะเดียวกันก็ช่วยควบคุมการปฏิบัตินั้นๆ  ด้วย โดยครูต้องกำหนดความต้องการหรือ    ความคาดหวังในผลงานของนักเรียนอย่างชัดเจน  และแสดงให้นักเรียนทราบว่าจะทำให้ถึงความคาดหวังนั้นได้อย่างไร  ซึ่งมักปรากฏว่าคุณภาพผลงานและการเรียนรู้ของนักเรียนพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ข้อโต้แย้งถกเถียงที่มักพบเสมอในเรื่องการใช้รูบริคคือ การให้คำอธิบายที่ชัดเจนในเรื่องคุณภาพ เมื่อนักเรียนมีข้อบกพร่องตามเกณฑ์ใด  ครูจะช่วยชี้แนะและบอกได้ว่าครูคาดหวังให้นักเรียนทำอะไร
2.  รูบริคช่วยให้นักเรียนตัดสินคุณภาพผลงานของตนเองและของคนอื่น  ๆ อย่างมีเหตุผล  เมื่อใช้รูบริคเป็นแนวทางการประเมิน  นักเรียนจะสามารถชี้แนะและ แก้ปัญหาเกี่ยวกับผลงานของตนและผู้อื่นได้อย่างตรงจุด  การฝึกซ้ำ ๆ เกี่ยวกับการประเมินผลงานกลุ่มและผลงานของตนเองทำให้นักเรียนเพิ่มความรับผิดชอบ เกี่ยวกับผลงานของตนมากขึ้น  และยุติการถามตนเองว่า “ฉันทำงานเสร็จหรือยัง”
3.  รูบริคช่วยลดเวลาครูในการประเมินงานของนักเรียน  ผลงานที่ผ่าน การประเมินโดยเจ้าของผลงานเอง และโดยกลุ่มซึ่งยึดเกณฑ์หรือรูบริคเป็นหลักนั้น  ทำให้ข้อบกพร่องมีน้อยมากเมื่อมาถึงมือครู หากมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงบอกกล่าวกัน ครูก็เพียงแต่วงประเด็นนั้นในรูบริค  แทนที่จะต้องอธิบายกันยืดยาว นอกจากนี้รูบริคยังช่วยให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนมากขึ้น เกี่ยวกับจุดเด่นและสิ่งที่ต้องปรับปรุง
http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/report.jpg
4.  รูบริคมีความยืดหยุ่น  คือ  มีระดับคุณภาพตั้งแต่ดีเยี่ยมจนถึงต้องปรับปรุง  ทำให้ครูนำไปใช้กับนักเรียนที่คละความสามารถได้  คือ นำไปใช้กับนักเรียนที่เรียนเก่งจนถึงนักเรียนที่เรียนอ่อน โดยใช้เกณฑ์สะท้อนผลงานของเขา
5.  รูบริคใช้ง่ายและอธิบายได้ง่าย  นักเรียนจะรู้ชัดเจนว่าเขาเรียนรู้อะไรบ้าง  ในปลายปีเขาก็จะประเมินได้อย่างถูกต้อง ผู้ปกครองก็เกิดความกระตือรือร้น  และรู้ชัดเจนว่าลูกหลานจะต้องทำอย่างไรเพื่อในประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ teachervision. fen. com/ teaching – methods / rubrics  ได้กล่าวถึงเหตุที่ต้องใช้รูบริคว่า  ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่ารูบริคช่วยปรับปรุงผลงานขั้นสุดท้ายของนักเรียน  ซึ่งมีผลให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น  เมื่อครูประเมิน  รายงานหรือโครงการก็จะรู้โดยนัยว่าอะไรทำให้ผลงานสุดท้ายออกมาดีและเป็นเพราะอะไร  การที่นักเรียนรู้รูบริคล่วงหน้าหรือก่อนการทำงาน  เขาก็จะรู้ว่าเขาจะได้รับ การประเมินอย่างไรและจะมีการเตรียมตัวตามประเด็นการประเมินนั้น ๆ การพัฒนาปรับปรุงรูบริคซึ่งเปรียบเสมือนตะแกรงร่อนและใช้เป็นเครื่องมือสำหรับนักเรียน  จะเป็นแกนที่จำเป็นในการปรับปรุงคุณภาพของงานและเพิ่มพูนความรู้
            โดยสรุปแล้ว  การเตรียมรูบริคเป็นแนวทางที่นักเรียนใช้สร้างความรู้  การพิจารณารูบริคเป็นส่วนหนึ่งของแผนเวลาวางแผนด้วย  ไม่ใช่เพิ่มเวลาเพื่อเตรียมรูบริค  เมื่อสร้างรูบริคแล้วสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมที่หลากหลาย  การทบทวน  การสร้างมโนคติใหม่ และการพิจารณาใหม่ของมโนคติเดิมจากหลาย ๆ มุมมอง  ช่วยพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน รูบริคที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้  หรือปรับเล็กน้อยและนำไปใช้กับกิจกรรมมากมาย เช่น มาตรฐานระดับยอดเยี่ยมของรูบริคการเขียนจะอยู่คงที่ตลอดปีการศึกษา แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือความสามารถของนักเรียนและวิธีการสอนของครู เพราะสิ่งที่จำเป็นหรือสิ่งสำคัญยังคงอยู่  จึงไม่จำเป็นต้องสร้างรูบริคใหม่ทั้งหมดสำหรับทุกกิจกรรม
ข้อดีของการใช้รูบริคมีหลายประการ ได้แก่
ผู้สอนสามารถเพิ่มคุณภาพการสอนได้โดยตรง  โดยมีเป้าหมาย  จุดเน้น และความตั้งใจที่รายละเอียดเฉพาะ เป็นตัวอย่างสำหรับนักเรียน
นักเรียนมีแนวทางที่ชัดเจนตามความคาดหวังของครู
นักเรียนใช้รูบริคเป็นเครื่องมือพัฒนาความสามารถของตน

ครูนำรูบริคไปใช้ซ้ำได้อีกในกิจกรรมอื่นๆ

เมื่อไรการให้คะแนนแบบรูบริคจึงเป็นเทคนิคการประเมินที่เหมาะสม  การให้คะแนนแบบรูบริคมักใช้ในการประเมินกิจกรรมกลุ่ม  ประเมิน โครงการและการนำเสนอปากเปล่า  เหมาะที่จะใช้กับวิชาภาษา  คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นการประเมินในชั้นเรียน ในสหรัฐ- อเมริกาใช้ทั้งในระดับก่อนอุดมศึกษาและอุดมศึกษา  รูบริคการให้คะแนนจะใช้ที่ไหนและเมื่อไรนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับชั้นหรือวิชา  แต่ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการประเมิน  การให้คะแนนแบบรูบริคเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ทางเลือกที่ใช้ประเมินผลงานของนักเรียน ตัวอย่างเช่น แบบตรวจสอบรายการ (Checklists)  อาจใช้ประเมิน  งานเขียน แทนที่จะใช้รูบริคก็ได้  ถ้าข้อมูลนั้นอยู่ในขอบเขตจำกัดและเฉพาะเจาะจง  การให้คะแนนแบบรูบริคมักใช้กับการประเมินที่มีการอธิบายบรรยายเพื่อสนับสนุนการประเมินว่า  บรรลุตามขอบเขตของเกณฑ์หรือไม่
การให้น้ำหนักตัวเลขกับทักษะย่อย ๆ ในกระบวนการก็เป็นเทคนิคการประเมินอีกอย่างหนึ่ง  ค่าตัวเลขที่ให้ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่านักเรียนจะต้องปรับปรุง  การปฏิบัติอย่างไร นักเรียนที่ได้คะแนน 70 จาก 100 จะไม่ทราบว่าจะต้องปรับปรุง   ตัวเองอย่างไรในการทำงานครั้งต่อไป  การให้คะแนนรูบริคจะให้รายละเอียดของแต่ละระดับว่ามีความคาดหมายอย่างไร  คำอธิบายหรือรายละเอียดนั้นจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าทำไมถึงได้คะแนนเท่านั้น  และเขาจะต้องทำอย่างไรเพื่อปรับ- ปรุงตัวในการปฏิบัติครั้งต่อไป
การให้คะแนนแบบรูบริคมีส่วนดีหรือเป็นประโยชน์อย่างน้อย  2  ประการในกระบวนการประเมินผล ประการแรก รับรองหรือสนับ- สนุนการทดสอบว่าถึงหรือบรรลุขอบเขตตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ ประการทีสอง ให้ผลสะท้อนกลับไปยังนักเรียนว่า จะปรับปรุงการปฏิบัติของตนอย่างไร  ถ้าส่วนดีเหล่านี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน  การให้คะแนนแบบรูบริคก็จะเป็นเทคนิควิธีการประเมินที่เหมาะสม

รูบริคมีกี่ชนิด  รูบริคมี  2 ชนิด  คือ แบบภาพรวม (Holistic) และแบบแยกส่วน  (Analytic)  
รูบริคแบบภาพรวมนั้น ครูต้องให้คะแนนโดยดูภาพรวมของกระบวนการหรือผลงาน ไม่แยกพิจารณาเป็นส่วนๆ (Nitko, 2001)  ในทางตรงกันข้าม  สำหรับรูบริคแบบแยกส่วนนั้น ครูจะให้คะแนนแยกทีละส่วนหรือทีละองค์ประกอบ  แล้วรวมคะแนนแต่ละส่วนนั้นเข้าด้วยกันเป็นคะแนนรวม (Moskel, 2000 ; Nitko, 2001)
รูบริคแบบภาพรวมจะใช้เมื่อต้องการดูคุณภาพโดยรวมมากกว่าจะดูข้อบกพร่องส่วนย่อย ๆ (Chase, 1999) Nitko(2001) กล่าวว่า รูบริคแบบภาพรวมจะเหมาะสมกับการปฏิบัติที่ต้องการให้นักเรียนสร้างสรรค์การตอบสนอง  และไม่มีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจน  จุดเน้นของการรายงานคะแนนที่ใช้รูบริคแบบภาพรวมคือ  คุณภาพโดยรวม  ความคล่องแคล่ว  หรือความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาสาระเฉพาะและทักษะ  ซึ่งเป็นการประเมินระดับมิติเดียว (Mertler, 2001)  การใช้รูบริคแบบภาพรวมทำให้กระบวนการให้คะแนนเร็วกว่าการใช้รูบริคแบบแยกส่วน (Nitko, 2001)  ดังนั้น  ครูจึงต้องอ่าน พิจารณาและตรวจสอบการปฏิบัติของนักเรียนโดยตลอด  เพื่อให้รู้สึกรับรู้ถึงภาพรวมว่านักเรียนทำอะไรได้และยังใช้เป็นการประเมินสรุป (Summative) ได้ด้วย  แต่นักเรียนจะได้รับทราบผลสะท้อนกลับน้อยมาก ดังตัวอย่างรูบริคแบบภาพรวมต่อไปนี้

รูบริคแบบแยกส่วน นิยมใช้เมื่อต้องการเน้นชนิดหรือลักษณะเฉพาะของการตอบสนอง (Nitko, 2001)  นั่นคือ ใช้สำหรับการปฏิบัติงานที่ยอมรับการตอบสนอง 1 หรือ ลักษณะ และความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการตอบสนองของนักเรียน  นอกจากนี้  ผลลัพธ์ขั้นต้นจะมีคะแนนหลายตัว  ตามด้วยคะแนนรวม    ซึ่งใช้เป็นตัวแทนการประเมินหลายมิติ (Mertler, 2001) การใช้รูบริคแบบแยกส่วนทำให้กระบวนการให้คะแนนช้า เนื่องจากเป็นการประเมิน


ที่มาของข้อมูล http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/textobet/rubric1.doc

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเรียนการสอน







การเรียนรู้ 
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต   คำจำกัดความที่นักจิตวิทยา      มักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอแต่ยังไม่ถึงกับเป็น ที่ยอมรับกันอย่างสากล คือ คำจำกัดความของ  คิมเบิล (Gregory A Kimble) คิมเบิล กล่าวว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติที่ได้รับ การเสริมแรง (Learning as a relatively permanent change in behavioral potentiality that occurs as a result of reinforced practice)
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นแยกกล่าวเป็นประเด็นสำคัญได้ ๕ ประการ คือ
       ๑. การที่กำหนดว่า การเรียนรู้  คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็แสดงว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้จะต้องอยู่ใน  รูปของพฤติกรรมที่สังเกตได้   หลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถทำสิ่งหรือเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อนการเรียนรู้นั้น
        ๒. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น  ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรนั่นก็คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น จะไม่เป็นพฤติกรรมในช่วงสั้นหรือเพียงชั่วครู่  และในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่คงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
       ๓. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใด  แต่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (Potential) ที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ  ต่อไปในอนาคต    การเปลี่ยนแปลง  ศักยภาพนี้อาจแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้แสดงออกมา    เป็นพฤติกรรมอย่าง ทันทีทันใดก็ได้

       ๔. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  หรือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในตัวผู้เรียนนั้นจะเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  หรือศักยภาพอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นการเรียนรู้
       ๕. ประสบการณ์หรือการฝึกต้องเป็นการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Reinforced practice) หมายความว่า เพียงแต่ผู้เรียนได้ รับรางวัลหลังจากที่ตอบสนอง ก็จะให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในแง่นี้คำว่า "รางวัล" กับ "ตัวเสริมแรง" (Reinforce) จะให้ความหมายเดียวกัน ต่างก็คือหมายถึงอะไรบางอย่างที่อินทรีย์ (บุคคล) ต้องการ

ปัจจัยสำคัญในสภาพการเรียนรู้
ในสภาพการเรียนรู้ต่างๆ ย่อมประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ ๓ ประการ ด้วยกัน คือ

๑. ตัวผู้เรียน (Learner)

๒. เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นตัวเร้า (Stimulus Situation)
๓.  การกระทำหรือการตอบสนอง Action หรือ Response



การสอน

       เป็นงานหลักของครู  ซึ่งปัจจุบันถือว่าครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่บุคคลในวิชาชีพนี้     ต้องได้รับการศึกษาอบรมมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถเลือกศึกษา อบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถเลือกวิธีปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติ ดังที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การสอน ครูต้องมีการฝึกฝนด้านการสอนอยู่เสมอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการทำงานเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่นๆ และต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพ การที่ครูสามารถปฏิบัติงานการสอนได้ดีขึ้นอยู่กับความสามารถในการผสมผสานศาสตร์ว่าด้วยการสอนกับศิลปะของการสอนเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการสอนสูงสุด 



สรุปหลักการสอน
การสอนและการเรียนรู้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียน เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ การเรียนรู้คือ กระบวนการที่ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ เป้าหมายของการสอนคือ  การมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นเพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องจัดการสอนอย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน อันได้แก่ การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึง หลักพื้นฐานในการสอน ลักษณะการสอนที่ดี และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอน ให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้ ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร




ที่มา: http://www.kroobannok.com/blog/35280